พระเครื่องทั้งหมด 966 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (131) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (35) เครื่องราง (182) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (35) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (59) พระบูชา (104) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (44) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 966 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 683 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
ครูบาชุ่ม วัดวังมุย
ข้อมูลประวัติ ครูบาชุ่ม โพธิโก ลำพูน 

          ท่านเกิด ณ.บ้านวังมุย ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน วันอังคารที่ 7 โยมบิดาท่านชื่อ พ่อบุญ โยมมารดาท่านชื่อแม่ลุน นามสกุล นันตละ ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 6 คน

          ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 12 ปี โดยมีครูบาอินตา วัดพระขาวลำพูนเป็นพระอุปัชฌาย์ท่านได้เล่าเรียนหนังสือกับ ท่านเจ้าอาวาสวังมุย จนอ่านออกเขียนได้ จึงได้มุ่งสู่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาเล่าเรียนไม่ว่าจะเป็น วัดพระสิงห์ วัดเจดีย์หลวง และสำนักต่างๆ ที่มีพระอาจารย์ เก่งๆ ประจำอยู่ เมื่ออายุม่านย่างเข้า 20 ปี ท่านได้เดินทางกลับวัดวังมุยเพื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีครูบาอินตาเป็น พระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์หมื่นเป็น พระกรรมวาจาจารย์พระอาจารย์ หลวงจ้อยเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า "โพธิโก"

          ท่านได้ออกเดินทางไปศึกษาหาความรู้ด้านวิปัสนา กัมมัฎฐานนอกจากนั้นหลวงพ่อได้สนใจที่จะศึกษาเล่าเรียนทางด้านวิชาอาคม และการพิชัยสงครามอีกด้วย ท่ายได้เดินทางไปศึกษากับครูบาสุริยะวัดท้าวบุญเรือง ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ได้ศึกษาศาสตร์สนธิทั้งแปดมรรคแปดอรรคคาถาบาลี มูลกัจจาย จนท่านสามารถแปล และผูกพระคาถาได้ เมื่อท่านศึกษาจนจบแล้ว ท่านได้ไปศึกษากับพระครูบาศรีวิชัย (คนละคนกับครูบาศรีวิชัยที่เป็นตนบุญล้านนา) วัดร้องแหย่ ต.หนองแก๋ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ผู้เป็นพระอาจารย์ทางด้านวิปัสนากัมมัฎฐาน และเป็นพระนักปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ท่านครูบาองค์นี้มีอายุถึง 70 ปี แต่ยังแข็งแรง มีผิวพรรณสดใสและเป็นพระผู้มีปฏิปทามากผู้หนึ่งท่านได้รับการถ่ายทอดอาคมไสยเวทย์ และการฝึกกระแสจิตควบคู่กันไป 

          ในขณะที่ท่านอยู่ที่วัดร้องแหย่งนั้น ท่านครูบาศรีวิชัยแห่งวัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ก็ได้มาเยี่ยมเยียนสักการะท่าน ครูบาศรีวิชัย วัดร้องแหย่งเสมอ และบางครั้งท่านได้อยู่จำวัดและร่วมสวดมนต์ทำวัตรและปฎิบัติกัมมัฎฐานด้วย และเห็นว่าท่านครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปางท่านมีความเคารพนับถือท่านครูบาศรีวิชัยวัดร้องแหย่งมาก

          ต่อมาท่านได้ไปศึกษากับ ครูบาแสนวัดหนองหมู จ.ลำพูน เป็นเวลา 2 ปี ท่านได้เดินทางกลับวัดวังมุย

          ต่อมาท่านได้ออกธุดงค์ไปยัง ต.บ้านก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน ซึ่งเป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงจนมีสานุศิษย์มากมายต่อจากนั้นท่านได้เดินทางไปถึงพระบรมธาตุดอยเกิ้ง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพระธาตุเก่าแก่มีประวัติเล่าขาลกันตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ตอนนั้นพระธาตุดอยเกิ้งนั้นมีสภาพทรุดโทรมมาก ท่านจึงมีความตั้งใจที่จะบูรณะองค์พระธาตุโดยมีชาวบ้าน ชาวเขามาร่วมในการครั้งนั้นมากมาย กินเวลา 45 วัน จึงแล้วเสร็จหลังจากนั้นท่านได้เดินทางต่อไปจนถึง อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง และอยู่บูรณะวัดห้างฉัตรเป็นเวลาถึง 3 พรรษา และท่านได้สร้างสะพานต่างๆ มากมายเช่นสะพาน ต.ยุหว่า, สะพาน ต.สันทราย, สะพานป่าเดื่อ, สะพานวัดชัยชนะ ฯลฯ ในปี พ.ศ.2478 ท่านครูบาศรีวิชัยได้สร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ขณะนั้นหลวงพ่อมีอายุได้ 37 ปี ได้เข้าร่วมในการสร้าทางท่านได้มีโอกาสรับใช้อย่างใกล้ชิด

          คราวท่านครูบาศรีวิชัยถูกเรียกตัวเข้ากรุงเทพหลวงพ่อได้รับหน้าที่ดูแลรักษาวัดรับแขกที่มาทำบุญแทนท่านครูบาฯ ท่านได้ร่วมบูรณะวัดวาอารามต่างๆ กับท่านครูบาศรีวิชัยมากมายขณะที่ครูบาศรีวิชัยป่วยอยู่ที่วัดจามเทวี ท่านได้ไปเฝ้าพยาบาล และท่านได้ร่วมกับครูบาธรรมชัยวัดประตูป่า ให้ช่างมาปั้นรูปเหมือนครูบาศรีวิชัยเนื้อปูนปั้นและนำไปหาท่านครูบาที่วัดจามเทวี เมื่อครูบาท่านเห็นรูปของท่านแล้ว น้ำตาได้เอ่อคลอเบ้าตาและท่านได้เอามือลูบไล้รูปเหมือนของท่าน และได้มอบพัดหางนกยูงและไม้เท้าของท่านให้ครูบาชุ่มและได้สั่งเสียว่า ให้ท่านรักษาให้ดีให้ถือปฏิบัติเหมือนตัวแทนของท่าน

          วัตถุมงคลของท่านที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ ยันต์ตระกุดหนังลูกควายตายพราย รวมไปถึงผ้ายันต์และเสื้อยันต์ทำให้บรรดาศิยานุศิษย์ของได้ได้ขออนุญาตจัดทำ และท่านเมตาผูกยันต์ลงอักขระให้ และท่านได้ปลุกเสกเดี่ยวตลอดเจ็ดวัดเจ็ดคืนภายในวิหารวัดวังมุยก่อนที่ท่านจะทำพิธีใหญ่ใน วันที่ 5 ธันวาคม 2517 โดยมีเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด พระเถระชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัดลำพูน สวนเจริญพุทธมนต์ นั่งบริกรรมตลอดคืน จนถึงตอนเช้าได้วันที่ 6 ธันวาคม 2517 ได้สวดเบิกพระเนตรและมงคลสูตร แล้วเสร็จจึงทำบุญตักบาตรถวายภัตหาร เสร็จพิธีจากนั้นคณะกรรมการจึงได้แจกจ่ายเหรียญให้ทันที

 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด