พระเครื่องทั้งหมด 964 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (130) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (35) เครื่องราง (182) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (35) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (59) พระบูชา (104) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (43) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 964 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 681 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
หลวงปู่ทิม วัดพระขาว
ข้อมูลประวัติ หลวงปู่ทิม อัตตสันโต วัดพระขาว "พระครูสังวรสมณกิจ" อยุธยา

          เมืองกรุงเก่าพระนครศรีอยุธยา มีพระเกจิอาจารย์เรืองนามอยู่ 3 รูปร่วมสมัยและเป็นสหธรรมิกกัน

          ประกอบด้วย หลวงปู่เมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา, หลวงปู่มี วัดมารวิชัย และหลวงปู่ทิม วัดพระขาว ซึ่งมีวัยวุฒิไล่เลี่ยกัน โดยเฉพาะด้านไสยเวทวิทยาคมก็เป็นเอกอุต่างกัน

          แต่ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ หลวงปู่เมี้ยน และหลวงปู่มี ละสังขารไปก่อน 

          ภาระเจตนาบุญได้รับการสืบสานต่อโดยหลวงปู่ทิม พระเกจิอาจารย์แห่งวัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ล้วนแล้วแต่ต้องนิมนต์หลวงปู่ทิม เพื่อทำหน้าที่ประธานฝ่ายสงฆ์ จุดเทียนชัยหรือดับเทียนชัย

          แต่แล้วเมื่อช่วงเช้าวันที่ 22 มีนาคม 2552 คณะศิษย์ของหลวงปู่ทิม อัตตสันโต ต้องได้รับข่าวเศร้า เมื่อหลวงปู่ทิมหรือพระครูสังวรสมณกิจ ได้มรณภาพลงอย่างสงบ ขณะเข้ารับการรักษาอาการป่วย ณ โรงพยาบาลโรคทรวงอก อ.เมือง จ.นนทบุรี สิริอายุ 96 พรรษา 62

          อัตโนประวัติหลวงปู่ทิม มีนามเดิมว่า ทิม ชุ่มโชคดี เกิดวันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม 2456 ปีฉลู ที่ต.พระขาว อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายพร้อม และนางกิ่ม ชุ่มโชคดี เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนลูกทั้งหมด 6 คน
คนแรก พี่ทอง ชุ่มโชคดี เป็นหญิง เสียชีวิตตั้งแต่เยาว์วัย
คนที่ 2 พี่เทียบ ชุ่มโชคดี 
คนที่ 3 พี่ทัศน์ ชุ่มโชคดี เป็นผู้ใหญ่เก่า หมู่ 5 ต.พระขาว (เสียชีวิตแล้ว)
คนที่ 4 พี่ทอด ชุ่มโชคดี 
คนที่ 5 หลวงปู่ทิม ชุ่มโชคดี มรณภาพ วันที่ 22 มีนาคม 2552
คนที่ 6 นายสังวาลย์ ชุ่มโชคดี

          ช่วงวัยเยาว์ หลวงปู่ทิมได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดพิกุล จนถึงอายุ 13 ปี เมื่อจบ ป.4 จึงออกจากโรงเรียนมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพทำนา ก่อนจะถูกเกณฑ์เป็นทหาร ถูกส่งตัวไปปฏิบัติราชการสงครามฝรั่งเศส รวมทั้งสงครามโลกครั้งที่ 2

อกระทั่งปลดประจำการ หลวงปู่ทิมจึงได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2475 ณ วัดพิกุล อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมี หลวงพ่อปุ๋ย วัดขวิด เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อหลิ่ว วัดโพธิ์กบเจา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการหลิ่ว เจ้าอาวาสวัดพิกุล เป็นพระอนุสาวนาจารย์

          แต่บวชอยู่ในบวรพระพุทธศาสนาได้เพียง 1 พรรษา ท่านได้ลาสิกขาแต่งงานมีครอบครัวและมีบุตร-ธิดา 4 คน

          หลังจากนั้น หลวงปู่ทิมท่านได้กลับมาอุปสมบทอีกครั้ง เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2491 ขณะอายุได้ 35 ปี ณ วัดพิกุล อ.บางบาล โดยมี พระครูอุดมสมาจารย์ (หลวงพ่อสังข์) วัดน้ำเต้า เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา อัตตสันโต

          หลังอุปสมบท หลวงปู่ทิมได้อยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดพิกุล อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ในระหว่างที่หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดพิกุลนั้นได้มีชาวบ้านนำเอาศพคนตายมาฝากไว้ในกุฏิถึง 2ศพด้วยกัน ทำให้เกิดมีแนวกรรมฐานด้วยตนเองอย่างถ่องแท้ พร้อมทั้งอาศัยหลักกรรมฐานด้วยตนเองอย่างถ่องแท้ พร้อมทั้งอาศัยหลักกรรมฐานที่ว่า สามัญในลักษณะ หมายความว่า ลักษณะที่เสมือนกันใน สังขารทั้งหลายทั้งปวง สิ่งนั้นก็คือ
อนิจจัง ( ความไม่แน่นอนในสังขาร )
ทุกข์ขัง (ความวุ่นวาย , ไม่สงบสุข ในสังขาร )
อนัตตา (ความตาย , ไม่มีตัวตน )

          จากนั้นหลวงปู่ทิม ท่านได้ไปจำวัดอยู่ยังวัดน้ำเต้ากับอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อสังข์ อยู่กับหลวงพ่อวัดน้ำเต้าประมาณ 1 เดือน ในระหว่างที่อยู่กับหลวงพ่อสังข์นั้น หลวงพ่อสังข์ได้ไต่ถามถึงความเป็นมาของการปฏิบัติกรรมฐานที่ผ่านๆ มาเมื่อหลวงพ่อสังข์ ทราบเรื่องแล้ว หลวงพ่อสังข์ก็กล่าวชมเชยว่า ใช้ได้ทั้งๆที่ยังไม่มีใครสอนหรือต่อให้มากอน พร้อมทั้งพูดเสริมขึ้นอีกว่า "ฉันบวชให้คุณฉันได้บุญหลาย" ต่อจากนั้น หลวงปู่ทิมก็ได้นั่งปุจฉา-วิสัชนาอยู่กับหลวงพ่อวัดน้ำเต้าอย่างใก้ลชิด และทราบซึ้งในธรรมะมาก นับว่าเป็นครั้งแรกที่หลวงปู่ท่านได้รับรู้แนวทางการเจริญธรรมกรรมฐานอย่าง จริงจังหลวงปู่ทิมมีเวลาอยู่เจริญกรรมฐานกับหลวงพ่อวัดน้ำเต้าอย่างใก้ลชิดเป็นเวลา 1 เดือนเต็ม

          ต่อมาหลวงปู่ทิมจึงย้ายมาจำพรรษายังวัดพระขาว ตั้งแต่ พ.ศ.2492 และขึ้นเป็นเจ้าอาวาส พ.ศ.2498 จวบจนปัจจุบัน

          ด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม หลวงปู่ทิม วัดพระขาว สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก เมื่อ พ.ศ.2500

          พ.ศ.2510 ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลน้ำเต้า ตำบลพระขาว พร้อมทั้งได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2512 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูสังวรสมณกิจ

          พ.ศ.2520 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามเดิม

          ผลงานด้านการพัฒนา หลวงปู่ทิมท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์สภาพของวัดที่เก่าแก่แต่เดิม ให้มั่นคงถาวรทั้งหมด

          ดังที่ได้เห็นทุกวัน ซึ่งเกิดจากบุญญาบารมีของหลวงปู่ทิม วัดพระขาวอย่างแท้จริง ซึ่งมีผลงานปรากฏดังนี้คือ

          หลวงปู่ทิมปรับปรุงกุฏิทั้งหมด รวม 9 หลัง เมื่อปี พ.ศ.2499-2500 สร้างหอสวดมนต์ เมื่อปี 2501 เปลี่ยนกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถจากกระเบื้องดินให้เป็นกระเบื้องเคลือบ ยกช่อฟ้าพระอุโบสถ ทำหน้าบันพระอุโบสถทำกำแพงรอบพระอุโบสถ ทำรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กรอบๆ บริเวณวัดสร้างศาลาพักร้อนหน้าวัด สร้างฌาปนสถาน (เมรุเผาศพ)

          ปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญ และสร้างศาลาเรียงพร้อมทั้งเปลี่ยนกระเบื้องศาลาทั้งหมด ทำห้องสุขาชาย-หญิง พร้อมห้องน้ำ สร้างถังน้ำคอนกรีตใหญ่และศาลา สร้างสะพานคอนกรีตจากกุฏิไปยังศาลาการเปรียญ เปลี่ยนกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถ จากกระเบื้องเคลือบมาเป็นกระเบื้องลายเทพนม สร้างภาพเขียนฝาผนังในพระอุโบสถ เป็นภาพพุทธประวัติ และเรื่องราวของพระเวสสันดรชาดก

          หลวงปู่ทิม วัดพระขาว เป็นพระนักปฏิบัติ และชอบการปลีกวิเวกอยู่ในป่าช้า สมถะรักสันโดษ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ไม่จับต้องปัจจัยเงินทอง มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ มีความเมตตาต่อทุกคนที่ไปกราบไหว้โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ หรือคนรวยคนจน ท่านให้ความเสมอภาค

          การเข้ากราบไหว้ขอพรหลวงปู่ทิม วัดพระขาว ทุกคนมีโอกาสเหมือนกันหมด และจะได้รับแจกของดีจากมือท่านโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องหรือเครื่องรางของขลัง อาทิ พระขุนแผน ปลาเงินปลาทอง ลูกอมชานหมาก ภาพถ่ายสี ขนาดพกติดตัวที่เลื่องลือกันว่ามีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภสูง

          หลวงปู่ทิม วัดพระขาว โดดเด่นด้านวัตถุมงคลประเภทพระเครื่องและเครื่องรางของขลัง ท่านได้ศึกษาวิชาอาคมจากหลวงพ่อสังข์ พระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ เป็นต้น จนมีความเชี่ยวชาญชำนาญในวิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมต่างๆ

          หลวงปู่ทิม วัดพระขาวท่านมีปริศนาธรรม คำสอนอันทรงคุณค่า รวมทั้งการสร้างและเสกวัตถุมงคลจนเลื่องชื่อ เป็นที่ต้องการของนักสะสมและลูกศิษย์ลูกหา โดยเฉพาะ ลูกอมชานหมาก

          สำหรับวัตถุมงคลหลวงปู่ทิม วัดพระขาว พระกริ่ง พระขุนแผน และเหรียญมีสร้างหลากรุ่นหลายปีมาก รุ่นที่หยิบยกมาเอ่ยถึงนี้ นับวันเริ่มหายากแล้ว พระกริ่งสร้างปี 2539 พระขุนแผนเคลือบ สร้างปี 2540 และเหรียญรูปเหมือน สร้างปี 2540 จัดสร้างถวายหลวงปู่ทิม สำหรับแจกฟรีให้กับบรรดาลูกศิษย์ลูกหา โดยนักธุรกิจใจบุญ "บุญมา บุญเลิศวณิชย์" ซึ่งขออนุญาตสร้างไว้ทั้งหมด 14 พิมพ์ด้วยกัน

          โดยเฉพาะเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ทิม วัดพระขาว ห้วงนี้ลูกศิษย์ลูกหาสายตรงตามเก็บหมด ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ทิมนั่งเต็มองค์ ด้านบนเขียนว่า พระครูสังวรสมณกิจ (หลวงปู่ทิม อตฺตสนฺโต) ด้านล่างเขียนว่า รุ่นแรก ส่วนด้านหลังส่วนบนเขียนว่า "แจกวันเกิดอายุ ๘๔-๑๕ ม.ค.๔๐ วัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา" ตรงกลางมียันต์ ด้านล่างเขียนว่า "รุ่นบุญรวยมา"

          ก่อนหลวงปู่ทิม วัดพระขาวท่านละสังขารยังเมตตาอธิษฐานจิตพระขุนแผนและพระนางพญา ให้วัดโล่ห์สุทธาวาส จ.อ่างทอง เปิดให้ประชาชนทั่วไปร่วมบุญบูชา เพื่อนำปัจจัยสมทบทุนสร้างอุโบสถวัดโล่ห์ฯ นอกจากนี้ ยังอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นสุดท้าย รุ่นที่ระลึกครบ 8 รอบ 96 ปี เพื่อนำรายได้บูรณะวัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา 

          ท้ายที่สุด ด้วยสภาพสังขารที่ร่วงโรยไปตามวัย กอปรด้วยอายุที่ล่วงเลยเข้าสู่บั้นปลาย หลวงปู่ทิม อัตตสันโตท่านย่อมไม่สามารถหลีกหนีสัจธรรมชีวิตที่เคยกล่าวปรารภไว้ได้เช่นกัน เมื่อเวลา 10.55 น. วันที่ 22 มีนาคม 2552 หลวงปู่ทิมได้ละสังขารจากไปอย่างสงบ ด้วยอาการปอดบวมและติดเชื้อในกระแสโลหิต

          หลวงปู่ทิม วัดพระขาว หรือ"พระครูสังวรสมณกิจ"ย้ำอยู่เสมอว่า วัตถุมงคลทั้งหลายล้วนเข้มขลังด้วยอำนาจแห่ง พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แต่ไม่ว่าใครจะมีพระเครื่องที่ดี เด่น ดังเพียงใดก็ตาม ที่สุดแล้วก็ไม่สามารถหนีความตายไปได้
เพราะนี่คือสัจธรรมของชีวิต

 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด