พระเครื่องทั้งหมด 964 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (130) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (35) เครื่องราง (182) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (35) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (59) พระบูชา (104) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (43) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 964 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 681 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่าอรัญญิกาวาส
หลวงปู่เฮี้ยง ปุณฺณจฺฉนฺโท วัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) ชลบุรี

อัตโนประวัติ

          พระวรพรตปัญญาจารย์ หรือ หลวงปู่เฮี้ยง ปุณฺณจฺฉนฺโท อดีตเจ้าอาวาสวัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลุบรี เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของเมืองชล เป็นผู้ได้รับสืบทอดตำราการสร้างพระปิดตาทั้ง เนื้อผง และ ?เนื้อผงคลุกรัก จากพระเกจิอาจารย์ดังหลายรูปของเมืองชลบุรี

          หลวงปู่เฮี้ยง มีนามเดิมว่า กิมเฮี้ยง นาคไพบูลย์ (ต่อมาเปลี่ยนเป็น กรุณยวธนิชย์) เกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2441 เวลา 17.45 น. ตรงกับวันพฤหัสบดี เดือนยี่ แรม 2 ค่ำ ปีจอ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ณ ต.นาป่า อ.เมือง จ.ชลบุรี โยมบิดาชื่อ เร่งเซ็ง เป็นคนเชื้อสายจีน โยมมารดาชื่อ ผัน มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 7 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 2

การศึกษาเบื้องต้น

          เมื่อเจริญวัยอายุได้ประมาณ 9-10 ขวบ โยมมารดาได้พาไปฝากเรียนหนังสือกับพระวินัยธร (เส็ง) เจ้าอาวาสวัดหนองไม้แดง (วัดราษฎร์สโมสร) ต.นาป่า อ.เมือง จ.ชลบุรี ต่อมาเมื่อพระวินัยธร (เส็ง) ได้มรณภาพลง จึงเลิกเรียน และกลับไปอยู่บ้านช่วยเหลือโยมบิดา-โยมมารดาประกอบอาชีพตามวิสัยที่พึงกระทำ ได้

          ครั้นอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเป็นช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ท่านจึงได้ไปสมัครเป็นตำรวจภูธร และมาปลดประจำการ โดยเป็นเพียงกองหนุนชั้นที่ 1 ขณะอายุได้ 22 ปี

การอุปสมบท

          ในปี พ.ศ.2464 เมื่ออายุได้ 23 ปี ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุตามประเพณี ณ พัทธสีมาวัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2464 ตรงกับเดือน 8 ขึ้น 7 ค่ำ เวลา 14.00 น. โดยมีท่านเจ้าคุณพระเขมทัสสีชลธีสมานคุณ วัดเขาบางทราย ต.บางทราย อ.เมือง จ.ชลบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ , พระวินัยธร (เภา) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดชื่น ธมฺมสาโร วัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

          ได้รับฉายาว่า ?ปุณฺณจฺฉนฺโท? มีความหมายว่า ?ผู้มีความพอใจอันเต็มเปี่ยม?

          ภายหลังอุปสมบทแล้ว ท่านได้มาพำนักจำพรรษาที่วัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 3 ของวัด

ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อแดง

ท่านมีอุปนิสัยสนใจด้านวิทยาคม ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อแดงหรือพระครูธรรมสารอภินันท์ วัดใหญ่อินทราราม (วัดหลวง) ต.บางปลาสร้อย อ.เมือง จ.ชลบุรี ยอดพระเกจิอาจารย์ชาวเขมร เมืองพระตะบอง ที่มาพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดใหญ่อินทราราม (วัดหลวง) เป็นเวลายาวนานถึง 53 ปี เป็นพระเถระที่ทรงวิทยาคุณในทางสมถะ มีวาจาสิทธิ์เป็นที่เคารพยำเกรงของคณะศิษยานุศิษย์และเป็นที่เล่าขานตลอดมา จนถึงปัจจุบัน

การสร้างวัตถุมงคล

          หลวงปู่เฮี้ยง ได้พัฒนาทั้งด้านการศึกษาและถาวรวัตถุเสนาสนะให้เจริญรุ่งเรือง นับได้ว่า วัดป่าหรือวัดอรัญญิกาวาสแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองด้วยอำนาจบารมีแห่งวัตถุมงคล พระเครื่องต่างๆ ที่ท่านสร้างสรรค์ ทุกรุ่นเปี่ยมไปด้วยพุทธคุณเมตตามหานิยม เป็นที่ปรารถนาของเซียนพระเครื่องที่ต่างแสวงหาไว้ในครอบครอง ด้วยอำนาจความเข้มขลังที่เป็นอมตะแห่งผงเก่าของยอดพระเกจิอาจารย์ชาวบางปลา สร้อยในอดีต อาทิ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์, หลวงพ่อเจียม วัดกำแพง มีส่วนเสริมให้วัตถุมงคลของหลวงปู่เฮี้ยง ทุกรุ่นทุกพิมพ์ ถูกเช่าบูชาไปจากตลาดพระเครื่องอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะหามาไว้ในครอบครอง

          สำหรับวัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) มีการสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่สมัยพระปลัดธรรมสาร (ชื่น ธมฺมสาโร) อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 2 โดยสร้างเหรียญรูปเหมือนของท่าน เมื่อปี พ.ศ.2463 นับว่าเป็นเหรียญเก่าของชาวชลบุรีอีกเหรียญหนึ่ง การสร้างวัตถุมงคลของวัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) ที่นับว่าโด่งดัง หลวงปู่ได้ริเริ่มสร้างวัตถุมงคลครั้งแรก เมื่อปลายปี พ.ศ.2484-2486 โดยมีพระใบฎีกาแฟ้ม อภิรโต เป็นผู้ดำเนินการสร้างทั้งสิ้น โดยใช้ผงต่างๆ ของหลวงพ่อแก้วและหลวงพ่อเจียม เป็นส่วนผสมและทำการปลุกเสกอธิษฐานจิต

ลำดับงานปกครองและสมณศักดิ์

พ.ศ.2467 เป็นเจ้าอาวาสวัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า)

พ.ศ.2473 เป็นสังฆรักษ์ ฐานานุกรมของเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี

พ.ศ.2479 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูวรพรตศีลขันธ์

พ.ศ.2483 เป็นเจ้าคณะแขวงบางละมุง และเป็นพระอุปัชฌาย์ในคณะธรรมยุต

พ.ศ.2486 เป็นกรรมการตรวจประโยคนักธรรมชั้นตรี ในสนามหลวง

พ.ศ.2496 เป็นเจ้าคณะธรรมยุตผู้ช่วยอำเภอจังหวัดชลบุรี

พ.ศ.2498 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ ?พระวรพรตปัญญาจารย์? ฝ่ายวิปัสสนาธุระ

พ.ศ.2507 เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะจังหวัดชลบุรี-ฉะเชิงเทรา (พ้นหน้าที่นี้เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2508)

          พ.ศ.2509 เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดเขาบางทราย พระอารามหลวง จ.ชลบุรี (พ้นหน้าที่นี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2509)

          ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ ให้การอุปสมบทกุลบุตรมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2483 มีส่วนร่วมสนับสนุนการศึกษาของพระภิกษุ-สามเณร และชาวบ้านในชุมชน ด้วยการก่อสร้างโรงเรียนประชาบาล และโรงเรียนมัธยมต้นขึ้นภายในวัดอรัญญิกาวาส

การมรณภาพ

          หลวงปู่เฮี้ยง ได้มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2511 เวลา 19.50 น. ณ โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา จ.ชลุบรี สิริอายุรวม 70 พรรษา 47 และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อปี พ.ศ.2512 แม้ละสังขารจากไปนานร่วม 40 ปี แต่เกียรติคุณของหลวงปู่ยังเลื่องลือเป็นที่จดจำของบรรดาลูกศิษย์และพุทธ ศาสนิกชนทั่วไปอย่างไม่เสื่อมคลาย

 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด