พระเครื่องทั้งหมด 964 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (130) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (35) เครื่องราง (182) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (35) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (59) พระบูชา (104) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (43) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 964 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 681 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย
ข้อมูลประวัติ หลวงพ่อมี เขมธัมโม วัดมารวิชัย อยุธยา

          ท่านพระครูเกษมคณาภิบาล หรือหลวงพ่อมี เขมธัมโม มีชื่อเดิมเต็ม ๆ ว่า “บุญมี” ถือกำเนิดในตระกูล “ธนสนธิ์” ชื่อของท่านโยมบิดามารดาสมมตินามขึ้นเพื่อเรียกขาน อันมีความหมายถึง “การมีกุศลแห่งความสุข ที่ร่ำรวยมีอันจะกินมิได้ขาด” มาปัจจุบัน ลูกศิษย์ลูกหาต่างเรียกนามองค์ท่านแบบสั้น ๆ ว่า “หลวงพ่อมี” จนติดปากกันมาจวบปัจจุบัน ถือเป็นมงคลนามอย่างใหญ่หลวง เมื่อองค์ท่านเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ บำเพ็ญบารมีธรรมตามรอยพระบาทองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนนามกระเดื่องประกาศกิตติคุณให้สานุศิษย์และชนชาวไทยทั่วแคว้นได้ประจักษ์โดยถ้วนทั่วกัน

โยมบิดานาม นายโหมด
โยมมารดานาม นางพุฒ

          หลวงพ่อมี ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2454 ตรงกับวันจันทร์แรม 2 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน ณ หมู่บ้านขนมจีน ข้างวัดมารวิชัยตอนใต้ หลวงพ่อมีเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้องท้องเดียวกัน 5 คนดังนี้

1. หมอแบน
2. นายจุ่น
3. นางสำลี
4. หลวงพ่อมี เขมธัมโม
5. นายสำแล

เมื่อปฐมวัย

          ในวัยเด็ก หลวงพ่อมี เป็นเด็กที่อ่อนแอและขี้โรคมาก ท่านมีโรคประจำตัวเจ็บป่วยออด ๆ แอด ๆ อยู่เสมอ เรียกว่า สามวันดีสี่วันไข้ไม่ว่าอากาศจะร้อนนิดหนาวหน่อยก็ป่วย ถ้าอากาศร้อนขึ้นก็จะเกิดอาการชักขนาดถูกแมวหรือสุนัขชนถูกตัวเท่านั้นก็ชักแล้ว ดังนั้น หลวงพ่อมี จึงเป็นเด็กที่มีรูปร่างผอมโซ แบบเด็กพุงโรก้นปอด เหมือนเป็นตาลขโมยไม่มีผิด ลักษณะเซื่อง ๆ ซึม ๆ ขี้อาย ไม่ช่างพูดและไม่เล่นหัวเหมือนกับเด็กชาวบ้านโดยทั่วไป คล้าย ๆ กับเป็นเสมือนปัญญาอ่อน เหล่านี้คือบุคลิกของหลวงพ่อมีในวัยเด็ก ซึ่งปราศจากวี่แววแห่งความรุ่งโรจน์ของชีวิตในอนาคต ไม่ว่าจะมองไปในแง่ใด ตามสายตาที่แสดงความเป็นห่วงของญาติผู้ใหญ่และชาวบ้านข้างเคียงทั้งปวง

เริ่มเล่นแร่

          ในวัยเด็กนี่เองที่องค์ท่านหลวงพ่อมี เขมธัมโม ได้ไปเยี่ยมหลวงน้าที่วัดบ้านพร้าวนอก ปทุมธานี โดยติดตามโยมคุณแม่ไป หลวงน้าคือ “หลวงพ่อเขียน โชติสโร” ในเวลานั้นกำลังเล่นแร่แปรธาตุ (เหมือนกับหลวงปู่จัน วัดโมลี จังหวัดนนทบุรี) ถือเป็น โอกาสของเด็กชายบุญมี ที่ได้สัมผัสกับสายวิชาเร้นลับนี้ เป็นการหล่อหลอมธาตุต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด โดยมีหน้าที่เติมฟืนช่วยสูบลมให้ไฟร้อนจัดตลอดเวลา ถือว่าเป็นการเริ่มการศึกษาด้วยตนเองในสายวิชา “เล่นแร่แปรธาตุ” มาตั้งแต่บัดนั้น หลวงพ่อมีเคยเล่าว่า “เหนื่อยมากเพราะกว่าจะหลอมธาตุแปรธาตุได้ หลวงพ่อเขียนท่านต้องเหงื่อไหลไคลย้อย ร่างกายสกปรกไปหมด ถูกรมด้วยควันไฟและเถ้าถ่านอยู่เป็นเวลานานกว่าจะเสร็จ” “ส่วนวิชาทำตะกั่วให้เป็นเงิน ทำเงินให้เป็นทองคำนั้น หลวงพ่อเขียนท่านหวงมาก ไม่ยอมถ่ายทอดให้ใครง่าย ๆ ในสมัยนั้น เป็นที่เล่าลือกันแพร่หลาย” หลวงพ่อมีท่านเคยถามถึงการที่อยากจะศึกษาสายวิชานี้ แต่หลวงน้าหลวงพ่อเขียน กล่าวว่า “จะสอนให้เมื่อบวชเป็นพระ” ตั้งแต่วันนั้นเด็กชายมีก็เฝ้ารอเพื่อถึงอายุเวลาอุปสมบท

บรรพชาอุปสมบท

          หลวงพ่อมี เขมธัมโม มีใจฝักใฝ่ใคร่จะบรรพชาเป็นสามเณรมานานแล้ว แต่ติดขัดที่มีภาระช่วยโยมบิดา มารดา ทำไร่ไถนา จึงต้องคอยให้มีอายุครบบวชเสียก่อนจึงจะได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุตามประเพณีนิยม ซึ่งบรรดาชายทั้งหลายกระทำกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ดังนั้นเมื่อหลวงพ่อมีอายุ 21 ปี อายุครบเกณฑ์ทหารต้องถูกคัดเลือกเข้าประจำการเป็นทหารเพื่อรับใช้ชาติ ท่านจึงตั้งใจไว้ว่า ถ้าไม่ถูกทหารจะบวชทดแทนคุณพ่อแม่ทันที แล้วหลวงพ่อมีก็สมความปรารถนาที่ตั้งใจไว้ เมื่อท่านจับได้สลากใบดำไม่ต้องเข้ารับราชการทหาร จึงได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุสมดังใจ ณ พัทธสีมา วัดมารวิชัย ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับ วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 โดยมีพระครูอดุลวุฒิกร หลวงพ่อพิน จันทโชโต วัดช่างเหล็ก อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์

          หลวงพ่อเขียน โชติสโร วัดบ้านพร้าวนอก อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลวงน้า คือเป็นน้องโยม มารดาของหลวงพ่อมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อเกลี้ยง อินทโชติ วัดมารวิชัย ซึ่งภายหลังไปเป็นเจ้าอาวาส วัดสามตุ่ม ในเขตอำเภอเสนา เป็นพระกรรมวาจาจารย์แทน หลวงพ่อคล้าย เจ้าอาวาสวัดมารวิชัยขณะนั้น ซึ่งเกิดอาพาธพอดี

          หลวงพ่อมี ได้รับฉายาเป็นภาษาบาลี จากหลวงพ่อพินผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ว่า “เขมธัมโม” แปลว่า “ผู้มีธัมมะอันเกษม”
การศึกษาเล่าเรียนเบื้องต้นขององค์ท่านหลวงพ่อมี ท่านได้เรียนรู้จาก หลวงพี่แบน ซึ่งเป็นพระพี่ชาย ต่อมาได้เข้าศึกษาทั้งภาษาไทยและ ภาษาขอมกับครูเยื้อน บุตรของอา จนพอจะมีพื้นฐานอ่านออกเขียนได้ หลังจากนั้นท่านจึงศึกษาด้วยตนเอง และเมื่อเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ จึงไปศึกษาพระธรรมวินัยกับหลวงปู่คล้าย พลายแก้ว ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดมารวิชัย ในขณะนั้นถือเป็นรากฐานอันมั่นคงในการสืบสานพุทธศาสนาต่อไป “ในช่วงที่อาตมาบวชอยู่ที่วัดมารวิชัยนั้น เป็นจังหวะที่ได้ศึกษาเล่าเรียนในทางปริยัติธรรมด้วย เพราะขณะนั้นกำลังเจริญอย่างเต็มที่”

ศึกษาวิทยาคม

หลวงพ่อเขียน โชติสโร ปทุมธานี
หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา

การสร้างพระเครื่อง

         ในสมัยหลวงพ่อนิล วัดหน้าต่างใน น้องชายคู่บารมีขององค์ท่านหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนกอก เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ ได้กล่าวคำทำนายอนาคตของหลวงพ่อมีต่อหน้าองค์ท่านหลวงพ่อจงไว้ว่า “หลวงพ่อมี จะมีชื่อเสียงเมื่ออายุมากแล้ว แต่จะค่อย ๆ มีชื่อเสียงเหมือนกับหลวงพ่อจง ไม่โด่งดังตูมตามเหมือนกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค” การที่หลวงพ่อนิล วัดหน้าต่างในกล่าวคำเปรียบเทียบหลวงพ่อมีดังนี้ เนื่องจากในยุคสมัยนั้น ชื่อเสียงกิตติคุณขององค์ท่านหลวงพ่อปาน โสนันโท แห่งวัดบางนมโค โด่งดังมากกว่าหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อีกทั้งยังมีลูกศิษย์ลูกหาหลัก ๆ มากกว่าหลวงพ่อจงเสียอีกด้วย สังเกตได้จากวิชาอาคมที่องค์ท่านหลวงพ่อมี นำมาใช้จึงมักจะเป็นวิชาจากหลวงพ่อปาน ส่วนพระเลขพระยันต์ ที่องค์ท่านหลวงพ่อมีใช้เป็นยันต์หลักประจำตัวตลอดมานั้น ท่านใช้ยันต์พระพรหม 4 หน้า ของหลวงพ่อเขียน พระอาจารย์หลวงน้า วัดบ้านพร้าวนอก ปทุมธานีผู้เรืองวิชา

         มาบัดนี้ หลวงพ่อมีท่านมีสิริอายุ 87 พรรษา คำทำนายของหลวงพ่อนิล วัดหน้าต่างนอกในครั้งกระนั้นตรง ๆ จะ ๆ เมื่อเหตุการณ์และสานุศิษย์ ต่างได้เห็นในพลังคุณ ในพุทธคุณที่องค์ท่านหลวงพ่อมีใช้เวลาผ่านมาในพรรษาถึง 65 พรรษา ชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วแคว้นในปัจจุบัน ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศทั้งใกล้และไกลต่างเดินทางเข้าขอพร ขอของดีกับหลวงพ่อมี ที่วัดมารวิชัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังเกตได้จาก ไม่ว่าหลวงพ่อมี ท่านสร้างและปลุกเสกพระเครื่องหรือวัตถุมงคลใด ๆ ออกมา ล้วนแล้วแต่ได้รับความนิยมชมชอบจากพุทธศาสนิกชนอย่างกว้างขวางทุกอย่างเป็นเพราะ

ของท่านใช้ได้ผล

         กาลเวลาที่ผ่านมาเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นประจักษ์แล้วว่า ชื่อเสียงขององค์ท่านหลวงพ่อมี โด่งดังมาได้อย่างไร ท่านผู้อ่านที่ติดตามมาถึงบรรทัดนี้ คงไม่แปลกใจเพราะได้ทราบในปฏิปทาและศีลาจารวัตร ตลอดถึงเรื่องเวทวิทยาคมที่องค์ท่านศึกษา ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วมากล้นด้วยความเพียบพร้อม คือเป็นประกาศกิตติคุณมาตั้งแต่ครั้งกระโน้นก็ว่าได้

 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด