พระเครื่องทั้งหมด 964 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (130) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (35) เครื่องราง (182) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (35) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (59) พระบูชา (104) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (43) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 964 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 681 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
หลวงพ่อสด วัดโพธิ์แแตงใต้
ข้อมูลประวัิติ หลวงปู่สด วัดโพธิ์แตงใต้ จ.อยุธยา

          หลวงปู่สด (ธมฺมวโร)  วัดโพธิ์แตงใต้  เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ในย่านบางไทร พระเครื่องที่ลือชื่อก็คือ พระชุด "ศาลาล้ม"  อันโด่งดัง  ... ท่านได้สร้างวัตถุมงคลจำนวนไม่มากนัก    ประกอบกับทางวัดไม่มีวัตถุประสงค์ ในการวางบูชาพระตามศูนย์พระเครื่อง    จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของนักอนุรักษ์พระเครื่องเท่าไหร่  แต่สำหรับคนในท้องที่ จะทราบถึงความอัศจรรย์ในพระเครื่องของท่านไม่มากก็น้อยเนื่องจากเห็นบทความที่เขียนเกี่ยวกับประวัติของท่าน ในเวป แต่ตัวอักษรเล็กมาก จึงขอรบกวนเนื้อที่เพื่อน ๆ ในเวป ของเรา คัดลอกมาลงด้วยนะครับ (เป็นการประกอบเนื้อเรื่องให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น

          เมื่อราวปีพุทธศักราช 2358  ในสมัยแผ่นดินขององค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 4  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  ได้มีชาวมอญกลุ่มใหญ่เดินทางอพมาจากกรุงหงสาวดี  ประเทศพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในแผ่นดินไทย  โดยชาวมอญกลุ่มนี้ได้พากันกระจายไปปักหลักสร้างฐานตามบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ตั้งแต่ปากเกร็ด ปทุมธานี  ราชคราม  และบ้านโพธิ์แตง พระนครศรีอยุธยา  แต่เดิมนั้น บ้านโพธิ์แตง ชาวบ้านเรียกว่า  โพธิ์แดง  ซึ่งคำว่าโพธิ์แดงนั้นสันนิษฐานว่าเนื่องมาจากที่ตำบลแห่งนี้มีต้นโพธิ์ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก  ซึ่งต้นโพธิ์ในแถบนี้ก็จะมีลักษณะพิเศษกว่าที่อื่นนั่นคือ  ใบโพธิ์จะมีสีแดงนวล  จนชาวบ้านเรียกกันติดปากว่าโพธิ์แดง  แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็เพี้ยนจากโพธิ์แดงมาเป็น  โพธิ์แตง จนถึงปัจจุบัน

          หลวงพ่อสด  ธัมฺมวโร มีนามเดิมว่า  สด นามสกุล ธรรมประเสริฐ  ด.ช.สด มิได้มีนิสัยซุกซนหรือชอบวิ่งเล่นแบบเด็กทั่วไปในวัยเดียวกัน  แต่กลับเป็นเด็กเรียบร้อยและชอบติดตามพวกญาติพี่น้องที่เป็นผู้ใหญ่ไปช่วยงานทางวัดอยู่เป็นประจำ  ซึ่งจากการที่ได้มีโอกาสเข้ามาในวัดบ่อยๆ อาจจะเป็นหนึ่งที่ทำให้ ด.ช.สด เกิดความรู้สึกพึงพอใจในเพศบรรพชิตที่ดูสงบ  ร่มเย็น  ด.ช.สดจึงไดขออนุญาตจากบิดา มารดาเพื่อบวชเป็นสามเณรเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย  และเรียนหนังสือไปด้วย  ทั้งบิดา มารดาดีใจพี่ลูกชายคนเดียวของครอบครัวใฝ่ใส่ในการศึกษาจึงอนุญาตให้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์สมความตั้งใจ  แต่ท่านก็บวชได้ไม่นานโยมบิดา มารดาได้มาขอร้องให้ท่านลาสิกขาจากสามเณร  เพื่อกลับไปช่วยทางบ้านในการทำสวน ทำนา  ซึ่งเป็นอาชีพหลักของครอบครัว
          จนกระทั่งปี พ.ศ. 2460  มีญาติผู้ใหญ่ของท่านคนหนึ่งได้ถึงแก่กรรมลง  ซึ่งตามธรรมเนียมไทยที่มีมาแต่โบราณ  เมื่อมีการเสียชีวิตของญาติผู้ใหญ่ก็จะให้บุตรหลานบวชเป็นสามเณร  หรือที่นิยมเรียกกันว่า  บวชหน้าไฟเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับ  และท่านก็ได้เสนอตัวในการบวชสามเณรหน้าไฟในครั้งนี้  และการบวชสามเณรในครั้งนี้ของท่านกลายเป็นจุดเปลี่ยนแปลงชีวิตของท่าน  เพราะเมื่อเสร็จสิ้นงานศพแล้วท่านได้ขออนุญาติโยมบิดา มารดาเพื่อขออยู่ในผ้าเหลืองต่อไปอีก  ต่อมาในปี พ.ศ. 2462 ท่านมีอายุครบ  20  ปีบริบูรณ์ท่านก็ได้ทำการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดโพธิ์แตงใต้โดยมีท่านเจ้าคุณพระอริยทัชชะมุนี  แห่งวัดสำแล  จ.ปทุมธานี ในฐานะเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีเป็นพระอุปฌาย์  ได้รับฉายา  ?ธมฺมวโร?  สังกัดรามัญนิกาย

            ต่อมาในปีพ.ศ. 2489  ภายหลังวัดโพธิ์แตงใต้  ได้ขอโอนย้ายการปกครองมาอยู่ในคณะธรรมยุติ  ท่านจึงได้เดินทางไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร  และได้ทำการอุปสมบทใหม่อีกครั้งโดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์  วัดบวรนิเวศวิหารเป็นองค์พระอุปฌาย์  และให้ใช้ฉายาเดิมว่า  ?ธมฺมวโร?  เมื่อได้ทำการอุปสมบทแล้วท่านก็อยู่จำพรรษาและศึกษาพระบาลีอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร  ท่านจำพรรษาเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปีพุทธศักราช 2507  วัดโพธิ์แตงใต้ก็สิ้นบุญเจ้าอาวาส  และขาดเจ้าอาวาสที่จะคอยดูแลเสนาสนะต่างๆ ชาวบ้านจึงได้พร้อมใจกันเดินทางไปนิมนต์ท่านให้กลับไปปกครองวัดโพธิ์แตงใต้  ซึ่งท่านเองก็มิได้ขัดข้องซึ่งก่อนหน้าที่ท่านจะเดินทางกลับมารับตำแหน่งเจ้าอาวาส  ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปฌาย์ (วิสามัญ)  ที่พระครูเอนกสารคุณ  เมื่อท่านมาปกครองดูแลวัดโพธิ์แตงใต้แล้ว  ท่านก็ได้เริ่มบูรณะและปฏิสังขรณ์เสนาสนะในส่วนที่ชำรุดทรุดโทรม  จนล่วงมาถึง พุทธศักราช 2514  ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่  ?พระครูอเนกสารคุณ?  ชาวบ้านจึงได้ประชุมหารือและได้จัดงานเฉลิมฉลองวาระอันเป็นมงคลนี้ในปีถัดไป  คือในปี พ.ศ. 2515  เพราะว่าท่านมีอายุครบ  72  ปีหรือ  6 รอบพอดี       
           ในการจัดงานเฉลิมฉลองสมณศักดิ์  และการทำบุญอายุครบ  72  ปีของท่านในครั้งนี้  ทางคณะกรรมการการจัดงานได้จัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อให้ท่านนำไปแจกแก่ญาติโยมและศิษยานุศิษย์  และผู้มีจิตศรัทธาที่มาร่วมงานในครั้งนี้  โดยจัดทำเป็นเหรียญโลหะทองแดง  ซึ่งท่านได้นั่งปลุกเสกเดี่ยวด้วยตัวท่านเอง  ซึ่งต่อมาเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อท่านก็ได้สร้างปาฏิหาริย์ให้กับผู้ที่นำไปบูชาติดตัวในหลายๆ ด้าน  ทั้งเรื่องเมตตามหานิยม  แคล้วคลาดจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว  และก็ยังมีวัตถุมงคลของหลวงปู่อีกหลายรุ่นที่แสดงถึงปาฏิหาริย์  ให้หลายต่อหลายท่านประจักษ์มาแล้ว
           
          และด้วยวัยของหลวงปู่ที่สูงอายุมากขึ้น  แต่ท่านก็ยังให้การต้อนรับญาติโยมที่เดินทางมาหาอย่างเป็นกันเอง  แม้ว่าท่านจะได้รับการทัดทานจากบรรดาศิษยานุศิษย์ที่ต้องการจัดเวลาเข้าพบ  เพื่อให้ท่านมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น  และแล้วข่าวเศร้าที่ทำให้ประชาชนรู้สึกช๊อคไปทั้งประเทศ  เมื่อมีข่าวว่าหลวงปู่ล้มป่วยด้วยโรคชรา  และมรณภาพลงอย่างสงบยังความเศร้าเสียใจมายังศิษยานุศิษย์และประชาชนทั่วไปอย่างยิ่ง  ซึ่งหลังจากที่ท่านละสังขารไปแล้วคณะกรรมการวัดได้นำสังขารของท่านบรรจุไว้ในโลงแก้ว  เก็บไว้บนศาลาการเปรียญเพื่อให้ประชาชนผู้เคารพ  ศรัทธาในวัตรปฏิบัติของหลวงปู่ได้กราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคลมาตราบจนถึงทุกวันนี้
 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด