พระเครื่องทั้งหมด 967 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (132) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (35) เครื่องราง (182) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (35) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (59) พระบูชา (104) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (44) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 967 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 684 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
การสร้างพระเนื้อดิน

พระเนื้อดิน นับเป็นพระที่มีอายุการสร้างเก่าแก่ที่สุด โดยการนำดินอันเป็นวัสดุหาง่าย คงทน มาสร้างสรรค์ปฏิมากรรมได้สะดวก นอกจากนี้มนุษย์ยังมีความเชื่อ นับถือ ยกย่อง ดินประดุจเทพเจ้าที่ทรงคุณเอนกอนันต์ ในนามของ “แม่พระธรณี” ซึ่งดินที่นำมาสร้างพระล้วนเป็นดินที่นำมาจากศาสนสถานสำคัญ ศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานที่เป็นมงคล ในการนำดินมาสร้างพระทุกครั้ง ต้องมีการทำพิธีบวงสรวง ขอบารมีแม่พระธรณี เจ้าที่เจ้าทาง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้สถิตรักษาทุกครั้ง ต้องมีการทำพิธีบวงสรวง ขอบารมีอภินิหารให้มีต่อพระเครื่องและเครื่องรางที่สร้าง นอกเหนือจากส่วนผสมอื่นๆ ที่ได้ผ่านการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าดีและให้คุณ ที่จะส่งเสริมความเป็นมงคลแก่พระเครื่องและเครื่องรางที่จะสร้าง ความพิถีพิถันในการเสาะหาและเตรียมวัตถุดิบเป็นเรื่องสำคัญมากประการหนึ่งที่ผู้สร้างวัตถุมงคลต่างๆ ให้ความสำคัญและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมาช้านาน ด้วยเชื่อว่าพระเครื่องและเครื่องรางที่จะสร้างขึ้นนี้ต้องมีความดีนอกและดีใน ดีในหมายถึงวัตถุดิบที่นำมาสร้างต้องล้วนเป็นของดีมีมงคล ดีนอกหมายถึงต้องผ่านการปลุกเสกอย่างดี ผ่านพิธีกรรมที่ถูกต้องและเข้มขลัง โดยพระคณาจารย์ผู้เรืองเวทย์วิทยาคุณสูง รวมถึงผู้ทำพิธีอันจะก่อเกิดความเข้มขลังให้กับพระเครื่องและเครื่องรางที่ผ่านขั้นตอนที่สำคัญนี้แล้ว

ดังนั้น เป็นความเชื่อถือที่ยึดมั่นกันมาแต่ครั้งโบราณว่า “พระเครื่องและเครื่องรางของขลังที่ดีจริง ต้องดีนอก ดีใน คือ วัตถุที่นำมาสร้างต้องล้วนเป็นของงดี ผู้สร้างต้องดีพร้อม และผ่านพิธีกรรมที่ดี” จากจุดนี้เราจึงเข้าใจว่าเหตุใด พระเครื่องและเครื่องรางของขลังจึงมีความศักดิ์สิทธิ์ พระทุกประเภททุกเนื้อเครื่องรางทุกชนิด ล้วนเห็นข้อพึงปฏิบัติในการสร้างวัตถุมงคลนี้ โดยมีกฎเหล็กที่พึงต้องกระทำอย่างเคร่งครัด

เมื่อได้วัตถุดิบที่ต้องประสงค์แล้ว ก็จะนำวัตถุดิบต่างๆมาผสมคลุกเคล้ากัน โดยมีดินเป็นมวลสารหลัก ในการยึดประสานมวลสารต่างๆให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้น จึงนำส่วนผสมไปกดลงในแม่พิมพ์ที่แกะเค้าโครงรูปร่างของพระเครื่องที่ต้องการ เมื่อนำพระที่กดลงในแม่พิมพ์ออกจากพิมพ์แล้ว จึงนำพระมาเรียง แล้วผ่านกรรมวิธีทำให้แห้ง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1.1 พระที่ผ่านการเผา นับเป็นการสลายความชื้นและคงรูปวัตถุ ทำให้เกิดมวลสารของพระเครื่องเป็นแบบดินสุก หรือดินสีหม้อใหม่ เช่นเดียวกับการทำภาชนะเครื่องปั้นดินเผาต่างๆ หากแต่ในสมัยโบราณ การเผาพระไม่มีเครื่องมือในการตรวจวัดอุณหภูมิความร้อนให้คงที่และสม่ำเสมอ จึงทำให้พระที่ผ่านการเผาออกมา มีสีต่างๆกัน ตามระดับอุณหภูมิความร้อนสูงหรือต่ำที่ได้รับ

นอกจากนี้จากการค้นคว้าศึกษายังพบว่า พระเครื่องที่ผ่านการเผายังมี 2 ลักษณะคือ พระที่ผ่านการเผาเป็นเวลานานในอุณหภูมิความร้อนที่สูง กับพระที่ผ่านการเผาพอประมาณ ใช้เวลาในการเผาไหม้ไม่นานนัก หรืออาจจะเรียกว่า ผ่านการอบให้แห้ง โดยมวลสารคายความชื้นออก เพื่อความยึดติดเข้ารูป เป็นเหตุให้พระออกมามีหลายสี แต่คงไว้ซึ่งมวลสารส่วนผสมปรากฎเห็นชัดเจนกว่าพระที่ผ่านการเผาครบขบวนการทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีผลให้มวลสารบางชนิดถูกเผาไหม้ไป ซึ่งตัวอย่างของพระที่ผ่านการเผาทั้ง 2 ลักษณะ มีดังนี้

พระที่ผ่านการเผาจนครบขั้นตอน ได้แก่ พระรอด พระนางพญา พระกรุทุ่งเศรษฐี พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เป็นต้น

พระที่ผ่านการอบให้แห้ง ได้แก่ พระผงสุพรรณ พระซุ้มกอดำ เป็นต้น

1.2 พระที่ผ่านการตากแดดให้แห้ง พระประเภทนี้เราเรียกว่า “พระดินดิบ” ซึ่งหมายถึง มวลสารถูกแยกน้ำออก ด้วยวิธีการตากแดดให้แห้ง ความแข็งแกร่งคงทนจะน้อยกว่าพระที่ผ่านการเผา ดินจะสามารถละลายตัวหากนำมาแช่น้ำทิ้งไว้ พระเนื้อดินดิบ ได้แก่ พระเครื่องศิลปะศรีวิชัยที่พบทางใต้ เช่น พระเม็ดกระดุม เป็นต้น

นอกจากนี้ยังพบว่าในพระเนื้อดินมวลสารหรือเนื้อของดินได้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

ก. ประเภทเนื้อละเอียด หมายถึง ก่อนที่จะนำดินมาผสมกับมวลสารอื่นๆ ดินที่นำมาสร้างพระนั้นได้ผ่านการร่อนกรองจนละเอียดแล้ว พระที่สร้างออกมาจึงมีความนวลเนียนของพื้นผิว เช่น พระกำแพงกลีบบัว พระกำแพงซุ้มยอ พระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นต้น

ข. ประเภทเนื้อหยาบ หมายถึง ดินที่นำมาสร้างพระ ได้ผ่านการร่อนกรองมาแล้วแต่ไม่มากจนได้เนื้อดินละเอียด ยังคงปรากฏมีเม็ดแร่ กรวด ทราย ปะปนอยู่ด้วย มองเห็นชัดเจน เช่น พระชุดขุนแผนบ้านกร่าง เป็นต้น

 
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด